ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

ทฤษฎีเครือข่าย (ของการย้ายถิ่น)

network theory (of migration)

ทฤษฎีที่อธิบายการดำเนินไปอย่างต่อเนื่องของการย้ายถิ่น โดยเสนอความคิดว่า เมื่อการย้ายถิ่นใดๆ ได้เริ่มขึ้นแล้วจะมีพลังผลักดันให้การย้ายถิ่นดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพลังดังกล่าวแยกต่างหากจากพลังที่เป็นตัวริเริ่มกระบวนการย้ายถิ่นตามทฤษฎีนี้ผู้ย้ายถิ่นทั้งหลายจะสร้างเสริมเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลผ่านทางเครือญาติ เพื่อน และสมาชิกของชุมชนเดียวกัน เครือข่ายความสัมพันธ์ดังกล่าวเอื้ออำนวยให้มีการย้ายถิ่นมากขึ้น เพราะช่วยลดต้นทุน และความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในกระบวนการย้ายถิ่น รวมทั้งยังช่วยเพิ่มผลตอบแทนสุทธิที่จะได้รับการการย้ายถิ่นอีกด้วย

ในพื้นที่หนึ่ง เมื่อการย้ายถิ่นได้เกิดขึ้นแล้วก็จะดำเนินการต่อไปโดยผ่านกระบวนการแพร่กระจายข้อมูล ทำให้ทุกคนที่ประสงค์จะย้ายถิ่นอาจกลายเป็นพิธีผ่านภาวะ (rites of passage) เข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ โดยถือว่าการย้ายถิ่นเป็นการแสดงออกถึงการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ จนทำให้เหตุผลเชิงเศรษฐกิจของการย้ายถิ่นเกือบจะไม่มีความสำคัญ

พจนานุกรมศัพท์ประชากรศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015